วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2554

ปฏิบัติการที่ 6 SQ

h: จากข้อ'e'เมื่อแปลออกมาเป็นภาษาคำถามของมนุษย์จะได้ว่า "ให้เลือกแสดงฟิลด์รหัสนิสิต ชื่อนิสิต อาจารย์ที่ปรึกษา และชั้น จากตารางนักเรียน(student)โดยมีเงือนไขคือเป็นนิสิตชั้นปีที่2" ให้ลองแปลข้อ'f' ออกมาเป็นภาษาคำถามของมนุษย์
จะได้ดังภาพ
ตอบ   
SELECT studentid,Name, Advisor,Class,Hobby
FROM student 
WHERE Hobby LIKE'อ่าน*';


ให้เลือกให้เลือกแสดงฟิลด์รหัสนิสิต ชื่อนิสิต อาจารย์ที่ปรึกษา ชั้น และงานอดิเรก จากตารางนักเรียน(student)โดยมีเงือนไขคือ ตารางงานอดิเรกโดยมีคำว่าอ่านหนังสือ




:ให้นิสิตสืบค้นข้อมูลด้วยภาษาSQLตามคำถาม"ให้เลือกฟิลด์ทั้งหมดจากตารางรายวิชา(subject)"
ตอบ
SELECT subjectid,Name,Credit,Book,Teacher
FROM subject;
จะได้ตามภาพ

j:ให้นิสิตสืบค้นข้อมูลด้วยภาษาSQLตามคำถาม"ให้เลือกฟิลด์รหัสรายวิชาชื่อรายวิชา และจำนวนหน่วยกิต จากตารางรายวิชา(subject)"

ตอบ
SELECT subjectid,Name,Credit
FROM subject;
จะได้ดังภาพ

k:ให้นิสิตสืบค้นข้อมูลด้วยภาษาSQLตามคำถาม"ใฟ้เลือกฟิลด์รหัสรายวิชา ชื่อรายวิชา และจำนวนหน่วยกิต จากตารางรายวิชา(subject) โดยมีเงือนไขคือเป็นรายวิชา 104111"

ตอบ
SELECT subjectid,Name,Credit
FROM subject
WHERE subjectid=104111;
จะได้ดังภาพ


l:ทดลอง
SELECT Student.Studentid,Student.Name,Register.Score,Register.Grade
FROM Register,student


WHERE (Register.Studentid=Student.Studentid AND Register.Studentid=4902)
แล้วเลือก Run Query

ตอบ
จะได้ดังภาพ


m:ทดลองปรับเป็น
SELECT student.Studentid,student.Name,Register.Score,Register.Grade,Subject.Name
FROM Register,Student,Subject
WHERE(Register.Studentid=student.Studentid AND 
Register.Studentid=4902) AND(Register.Subjectid=Subject.Subjectid)
ตอบ

จะได้ดังภาพ


n:ทดลองปรับเป็น 



SELECTstudent.Studentid,student.Name,Register.Score,
Register.Grade,Subject.Name 
FROM Register,student,Subject 
WHERE (Register.Studentid=student.Studentid) AND (Register.Subjectid=Subject.Subjectid AND Register.Subjectid=104111)
ตอบ
จะได้ดังภาพ



o:จากข้อ "m" เมื่อแปลออกมาเป็นภาษาคำถามของมนุษย์จะได้ว่า "ให้เลือกแสดงฟิลด์รหัสนิสิต ชื่อนิสิต คะแนน เกรด และชื่อรายวิชา จากตารางนักเรียน(student) การลงทะเบียน(Register) และรายวิชา(Subject) โดยมีเงือนไขคือแสดงเฉพาะนิสิตรหัส 4902 เท่านั้น"ให้ลองแปล "n" ออกมาเป็นภาษาคำถามของมนุษย์
ตอบ
"ให้เลือกแสดงฟิลด์รหัสนิสิต ชื่อนิสิต คะแนน เกรด และชื่อรายวิชา จากตารางนักเรียน(student) การลงทะเบียน(Register) และรายวิชา(Subject) โดยมีเงือนไขคือแสดงรหัสรายวิชา104111เท่านั้น"

p:ให้นิสิตสืบค้นข้อมูลด้วยภาษาSQLตามคำถาม"ให้เลือกแสดงฟิลด์รหัสนิสิต ชื่อนิสิต คะแนน เกรด และชื่อรายวิชา จากตารางนักเรียน(Student)การลงทะเบียน(Register) และรายวิชา(Subject) โดยมีเงือนไขคือแสดงเฉพาะรายวิชารหัส 104111เท่านั้น และนิสิตอยู่ในชมรมภูมิศาสตร์เท่านั้น"

ตอบ
SELECT Student.Studentid,student.Name,Register.Score,
Register.Grade,Subject.Name ,student.Club
FROM Register,student,Subject 
WHERE Register.Studentid=student.Studentid AND Register.Subjectid=Subject.Subjectid AND Register.Subjectid=104111 AND student.Club='ภูมิศาสตร์';
จะได้ดังภาพ

วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2554

Database และ DBMS

  Database หมายถึง ฐานข้อมูล กลุ่มของข้อมูลที่มีความสัมพันธ์กัน นำมาเก็บรวบรวมเข้าไว้ด้วยกันอย่างมีระบบและข้อมูลที่ประกอบกันเป็นฐานข้อมูลนั้น ต้องตรงตามวัตถุประสงค์การใช้งานขององค์กรด้วยเช่นกัน เช่น ในสำนักงานก็รวบรวมข้อมูล ตั้งแต่หมายเลขโทรศัพท์ของผู้ที่มาติดต่อจนถึงการเก็บเอกสารทุกอย่างของสำนักงาน ซึ่งข้อมูลส่วนนี้จะมีส่วนที่สัมพันธ์กันและเป็นที่ต้องการนำออกมาใช้ประโยชน์ต่อไปภายหลัง ข้อมูลนั้นอาจจะเกี่ยวกับบุคคล สิ่งของสถานที่ หรือเหตุการณ์ใด ๆ ก็ได้ที่เราสนใจศึกษา  หรืออาจได้มาจากการสังเกต การนับหรือการวัดก็เป็นได้ รวมทั้งข้อมูลที่เป็นตัวเลข  ข้อความ  และรูปภาพต่าง ๆ ก็สามารถนำมาจัดเก็บเป็นฐานข้อมูลได้ และที่สำคัญข้อมูลทุกอย่างต้องมีความสัมพันธ์กัน เพราะเราต้องการนำมาใช้ประโยชน์ต่อไปในอนาคต
ระบบฐานข้อมูล (Database System) หมายถึง การรวมตัวกันของฐานข้อมูลตั้งแต่ 2ฐานข้อมูลเป็นต้นไปที่มีความสัมพันธ์กัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการลดความซ้ำซ้อนของข้อมูล และทำให้การบำรุงรักษาตัวโปรแกรมง่ายมากขึ้น โดยผ่านระบบการจัดการฐานข้อมูล หรือ  เรียกย่อ ๆ ว่า DBM
องค์ประกอบของระบบฐานข้อมูล
                ระบบฐานข้อมูลเป็นเพียงวิธีคิดในการประมวลผลรูปแบบหนึ่งเท่านั้น แต่การใช้ฐานข้อมูลจะต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบหลักดังต่อไปนี้
1.   แอพลิเคชันฐานข้อมูล (Database Application)
2.   ระบบจัดการฐานข้อมูล (Database Management System หรือ  DBMS)
3.   ดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์ (Database Server)
4.    ข้อมูล (Data)
5.    ผู้บริหารฐานข้อมูล ((Database Administrator หรือ DBA)
ระบบจัดการฐานข้อมูล
                ระบบจัดการฐานข้อมูล หมายถึง กลุ่มโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ชนิดหนึ่ง ที่สร้างขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่บริหารฐานข้อมูลโดยตรง ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด เป็นเครื่องมือที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ โดยที่ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องรับรู้เกี่ยวกับรายละเอียดภายในโครงสร้างฐานข้อมูล พูดง่าย ๆ ก็คือ DBMS นี้เป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงระหว่างผู้ใช้ และโปรแกรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบฐานข้อมูล ตัวอย่างของ DBMS ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ Microsoft Access, FoxPro, SQL Server, Oracle, Informix, DB2 เป็นต้น

            หน้าที่ของระบบจัดการฐานข้อมูล มีดังนี้
1.   กำหนดมาตรฐานข้อมูล
2.   ควบคุมการเข้าถึงข้อมูลแบบต่าง ๆ
3.  ดูแล-จัดเก็บข้อมูลให้มีความถูกต้องแม่นยำ
4.  จัดเรื่องการสำรอง และฟื้นสภาพแฟ้มข้อมูล
5.  จัดระเบียบแฟ้มทางกายภาพ (Physical Organization)
6.  รักษาความปลอดภัยของข้อมูลภายในฐานข้อมูล และป้องกันไม่ใช้ข้อมูลสูญหาย
7.  บำรุงรักษาฐานข้อมูลให้เป็นอิสระจากโปรแกรมแอพพลิเคชันอื่น ๆ
8.  เชื่อมโยงข้อมูลที่มีความสัมพันธ์เข้าด้วยกัน เพื่อรองรับความต้องการใช้ข้อมูลในระดับต่างๆ
    

ความหมายของระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์

   GIS A computerized database management system for capture, storage, retrieval, analysis, and display of spatial (locationally defined) data (NCGIA: National Center Geographic Information and Analysis, 1989)
 
แปล
GIS เป็นฐานข้อมูลการจัดการระบบคอมพิวเตอร์สำหรับการจับภาพ, เก็บ, การดึง, การวิเคราะห์และการแสดงผลของข้อมูลเชิงพื้นที่ตามที่กำหนด
 
*NCGIA: National Center Geographic Information and Analysis, 1989 คือ ศูนย์วิจัยด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ระดับชาติในอเมริกา ทำหน้าที่เพื่อเผยแพร่เทคโนโลยีในด้านระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์
 
ความหมายของคำว่า "ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ ( Geographic Information System ) GIS"ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ หรือ Geographic Information System : GIS คือกระบวนการทำงานเกี่ยวกับข้อมูลในเชิงพื้นที่ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ ที่ใช้กำหนดข้อมูลและสารสนเทศ ที่มีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ เช่น ที่อยู่ บ้านเลขที่ สัมพันธ์กับตำแหน่งในแผนที่ ตำแหน่ง เส้นรุ้ง เส้นแวง ข้อมูลและแผนที่ใน GIS เป็นระบบข้อมูลสารสนเทศที่อยู่ในรูปของตารางข้อมูล และฐานข้อมูลที่มีส่วนสัมพันธ์กับข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ซึ่งรูปแบบและความสัมพันธ์ของข้อมูลเชิงพื้นที่ทั้งหลาย จะสามารถนำมาวิเคราะห์ด้วย GIS และทำให้สื่อความหมายในเรื่องการเปลี่ยนแปลงที่สัมพันธ์กับเวลาได้ เช่น การแพร่ขยายของโรคระบาด การเคลื่อนย้าย ถิ่นฐาน การบุกรุกทำลาย การเปลี่ยนแปลงของการใช้พื้นที่ ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้ เมื่อปรากฏบนแผนที่ทำให้สามารถแปลและสื่อความหมาย ใช้งานได้ง่าย
GIS เป็นระบบข้อมูลข่าวสารที่เก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ แต่สามารถแปลความหมายเชื่อมโยงกับสภาพภูมิศาสตร์อื่นๆ สภาพท้องที่ สภาพการทำงานของระบบสัมพันธ์กับสัดส่วนระยะทางและพื้นที่จริงบนแผนที่ ข้อแตกต่างระหว่าง GIS กับ MIS นั้นสามารถพิจารณาได้จากลักษณะของข้อมูล คือ ข้อมูลที่จัดเก็บใน GIS มีลักษณะเป็นข้อมูลเชิงพื้นที่ (Spatial Data) ที่แสดงในรูปของภาพ (graphic) แผนที่ (map) ที่เชื่อมโยงกับข้อมูลเชิงบรรยาย (Attribute Data) หรือฐานข้อมูล (Database)การเชื่อมโยงข้อมูลทั้งสองประเภทเข้าด้วยกัน จะทำให้ผู้ใช้สามารถที่จะแสดงข้อมูลทั้งสองประเภทได้พร้อมๆ กัน เช่นสามารถจะค้นหาตำแหน่งของจุดตรวจวัดควันดำ - ควันขาวได้โดยการระบุชื่อจุดตรวจ หรือในทางตรงกันข้าม สามารถที่จะสอบถามรายละเอียดของ จุดตรวจจากตำแหน่งที่เลือกขึ้นมา ซึ่งจะต่างจาก MIS ที่แสดง ภาพเพียงอย่างเดียว โดยจะขาดการเชื่อมโยงกับฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกับรูปภาพนั้น เช่นใน CAD (Computer Aid Design) จะเป็นภาพเพียงอย่างเดียว แต่แผนที่ใน GIS จะมีความสัมพันธ์กับตำแหน่งในเชิงพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ คือค่าพิกัดที่แน่นอน ข้อมูลใน GIS ทั้งข้อมูลเชิงพื้นที่และข้อมูลเชิงบรรยาย สามารถอ้างอิงถึงตำแหน่งที่มีอยู่จริงบนพื้นโลกได้โดยอาศัยระบบพิกัดทางภูมิศาสตร์ (Geocode) ซึ่งจะสามารถอ้างอิงได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม ข้อมูลใน GIS ที่อ้างอิงกับพื้นผิวโลกโดยตรง หมายถึง ข้อมูลที่มีค่าพิกัดหรือมีตำแหน่งจริงบนพื้นโลกหรือในแผนที่ เช่น ตำแหน่งอาคาร ถนน ฯลฯ สำหรับข้อมูล GIS ที่จะอ้างอิงกับข้อมูลบนพื้นโลกได้โดยทางอ้อมได้แก่ ข้อมูลของบ้าน(รวมถึงบ้านเลขที่ ซอย เขต แขวง จังหวัด และรหัสไปรษณีย์) โดยจากข้อมูลที่อยู่ เราสามารถทราบได้ว่าบ้านหลังนี้มีตำแหน่งอยู่ ณ ที่ใดบนพื้นโลก เนื่องจากบ้านทุกหลังจะมีที่อยู่ไม่ซ้ำกัน
อ้างอิงจาก http://www.gisthai.org/about-gis/gis.html

วันศุกร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2554

วิจารณ์หนังหรือเพลง



เพลง เข็มทิศชีวิต

เนื้อเพลง
เธอบอกว่าวันนี้ เธอหลงทาง
เธอบอกว่าความหวังของเธอนั้น พังทุกอย่าง เธอร้องไห้
เธอบอกว่าเธอแพ้ เธอเสียใจ
เธอบอกว่าไม่ไหว ถ้าต้องลุกยืนขึ้นใหม่
จะบอกใจให้รับได้ยังไง

แต่เธอรู้ไหม ไม่ว่ายังไง สิ่งที่เราเจอมันก็สอนอะไร
ทุกอย่างมีเหตุผล เชื่อไหม..

แล้วก็ยิ้มให้มันเถอะ เปิดอ้อมแขนรับมันเถอะ
ไม่ว่าดีร้าย เธอ ขอให้อดทนไว้
ข่มใจวันนี้ที่ไหวหวั่น เพื่อไปพบวันที่สดใส
ทุกสิ่งมีความหมายในชีวิตเรา

เปลี่ยนจากความผิดพลั้งเป็นระวัง
เปลี่ยนกำแพงที่ขวางเป็นบันไดข้ามให้ถึงฝั่ง ที่ตั้งใจ
เปลี่ยนจากที่สับสนหนทางไป
หากเรามีเข็มทิศในชีวิต ไม่ว่าเมื่อไหร่
เราจะรู้ต้องเลือกเดินยังไง

ให้เธอรู้ไว้ ไม่ว่ายังไง สิ่งที่เราเจอมันก็สอนอะไร
ทุกอย่างมีเหตุผล เชื่อไหม..

แล้วก็ยิ้มให้มันเถอะ เปิดอ้อมแขนรับมันเถอะ
ไม่ว่าดีร้าย เธอ ขอให้อดทนไว้
ข่มใจวันนี้ที่ไหวหวั่น เพื่อไปพบวันที่สดใส
ทุกสิ่งมีความหมายในชีวิตเรา
ข่มใจวันนี้ที่ไหวหวั่น เพื่อไปพบวันที่สดใส
ทุกสิ่งมีความหมายในชีวิตเรา
ความหมายที่ได้พบ ในตัวของเรา


วิจารณ์บทเพลง 
 ที่ชอบเพลงนี้เพราะมีคนนำมาให้ฟังตอนที่รู้สึกท้อแท้ผิดหวัง ฟังแล้วรู้สึกมีกำลังใจขึ้นมาค่ะ และเคยอ่านหนังสือ เข็มทิศชีวิต มาบ้าง และชอบเนื้อเพลงที่บอกว่า แต่เธอรู้ไหม ไม่ว่ายังไง สิ่งที่เราเจอมันก็สอนอะไร ทุกอย่างมีเหตุผล เชื่อไหม..   เพราะชีวิตคนเราเกิดมาคงไม่สวยหรูเสมอไป ย่อมมีอุปสรรคและความผิดหวังบ้าง  แต่อุปสรรคหรือความผิดหวังที่เจออย่างน้อยก็สอนให้เราได้เรียนรู้อะไรหลายๆอย่างค่ะ อย่างน้อยก็ได้ บทเรียน ที่เราจะไม่ก้าวไปสู่จุดนั้นอีก  เพลงนี้เหมือนเป็นการสร้างกำลังลังใจให้กับตัวเองดีค่ะ   และชอบเพลงของบอยตรัยเป็นการส่วนตัวอยู่แล้วด้วยค่ะ
1.Spatial Distribution หมายถึง การกระจายเชิงพื้นที่ การที่พื้นที่เกิดการกระจายตัวเป็นบริเวณกว้างๆ เช่น การกระจายตัวของประชากรในอาณาเขตต่างๆ

2. Spatial Differentiation หมายถึง ความแตกต่างในเชิงพื้นที่ ในพื้นที่แต่ละพื้นที่จะมีลักษณะเฉพาะทางกายภาพที่แตกต่างกัน เช่น ความแตกต่างทางของภูมิประเทศ บริเวณที่เป็นพื้นที่ราบและ บริเวณภูเขา

3. Spatial Diffusion หมายถึง การแพร่กระจายในเชิงพื้นที่ เช่น การแพร่กระจายของเชื้อโรค จากที่หนึ่งไปยังอีกพื้นที่หนึ่ง ที่อยู่ห่างออกไป โดยอาจอาศัยคนเป็นตัวพาหะในการแพร่กระจาย

4. Spatial Interaction หมายถึง ปฏิสัมพันธ์ในเชิงพื้นที่ เป็นการกระทำร่วมกันของสองสิ่งที่มีความสัมพันธ์สอดคล้องหรือกระทำร่วมกัน เช่น บริเวณที่มีป่าใหญ่ก็จะมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่เยอะ

5. Spatial Temporal หมายถึง การเปลี่ยนแปลงของช่วงเวลาในเชิงพื้นที่ เช่น การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิประเทศในช่วงวันที่ 1-10 มิถุนายน

วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ

ความหมายของข้อมูลและสารสนเทศ
ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับบุคคล สัตว์ สิ่งของ สถานที่ หรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นซึ่งอาจเป็น
ข้อความ ตัวเลข หรือภาพก็ได้ ข้อมูลควรจะเป็นสิ่งที่เป็นข้อเท็จจริงและเป็นความจริง
สารสนเทศ คือ ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้ว ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ตามวัตถุประสงค์
ของผู้ใช้
ระบบสารสนเทศเป็นงานที่ต้องใช้ส่วนประกอบหลายอย่าง ในการทำให้เกิดเป็นกลไกในการนำข้อมูล มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ ส่วนประกอบที่สำคัญของระบบสารสนเทศมี 5 ส่วน คือ
1. บุคลากร
2. ขั้นตอนการปฏิบัติ
3. เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์
4. ซอฟต์แวร์
5. ข้อมูล
ข้อมูลสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประเภท  
1. ข้อมูลปฐมภูมิ เป็นข้อมูลที่ได้จากแหล่งข้อมูลโดยตรง เช่น ข้อมูลที่ได้จากการสอบถามโดยตรง การสัมภาษณ์ การสำรวจ การจดบันทึก เช่น การสอบถามอายุของเพื่อน ข้อมูลที่ได้จากเครื่องจักรอัตโนมัติ ได้แก่ เครื่องอ่านรหัสแท่ง เครื่องอ่านเครื่องหมายบนกระดาษ
2. ข้อมูลทุติยภูมิ เป็นข้อมูลที่ได้จากข้อมูลที่มีผู้อื่นรวบรวมไว้ให้แล้ว ผู้ใช้ข้อมูลไม่จำเป็นต้อง ไปสำรวจเอง เช่น ข้อมูลสถิติต่าง ที่หน่วยงานรัฐบาลทำไว้แล้ว เช่น สถิตจำนวนประชากร สถิติการส่งสินค้าออก สถิติการนำสินค้าเข้า ข้อมูลเหล่านี้มีการตีพิมพ์เผยแพร่เพื่อให้นำไปใช้งาน ได้ต่อไป
สารสนเทศที่ดีต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1. ถูกต้อง
2. ทันเวลา
3. สอดคล้องกับงาน
4. สามารถตรวจสอบได้
5. ครบถ้วน

อ้างอิงจากhttp://www.ds.ru.ac.th/test/Aj_palida/E-learning/computer_IT.html